พื้นฐานลวดสลิง (Wire Rope) 101
ความรู้เบื้องต้นและพื้นฐานเกี่ยวกับ ลวดสลิง
- ลวดสลิงคืออะไร ?
- ทำจากอะไร ?
- มีลักษณะแตกต่างกันอย่างไร ?
- รวมถึงวิธีการยก
ซึ่งทั้งหมดนี้ส่งผลต่อการใช้งานและการรับน้ำหนักของลวดสลิง
องค์ประกอบของลวดสลิง (Component)
ลวดสลิง 1 เส้น จะประกอบด้วย
- แกนลวดสลิง (Core) ทำหน้าที่รักษารูปทรงของลวดสลิงให้กลม รองรับเกลียวชั้นนอก ทั้งยังช่วยรักษาให้ลวดตีเกลียวอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมระหว่างการใช้งาน
- เส้นลวด (Wire) ส่วนประกอบย่อยสุดของลวดสลิง
- ขดลวด หรือ เกลียวสลิง (Strand) เกิดจากการรวมตัวของเส้นลวดด้วยการตีเกลียว
ขนาดลวดสลิง (Size)
โครงสร้างลวดสลิง (Construction)
สิ่งที่ต้องพิจารณาก่อนซื้อลวดสลิงให้เหมาะกับการใช้งานคือ โครงสร้าง
จำนวนโครงสร้างของลวดสลิง โดยทั่วไปลวดสลิงจะมีตัวเลขที่ต้องดู 2 ตำแหน่ง เช่น
โครงสร้างลวดสลิง 6×19 ซึ่ง
- เลขตัวหน้า หมายถึง จำนวนขดลวดในเกลียวลวดสลิง (Strand) เส้นนั้นๆ
- เลขตัวหลัง หมายถึง จำนวนเส้นลวด (Wire) ที่อยู่ในขดลวด (ซึ่งอาจมีจำนวนที่น้อยกว่าหรือมากกว่าตัวเลขที่ระบุไว้ก็ได้เช่นกัน)
ลักษณะของ “เกลียว” ลวดสลิง (Strand Pattern)
- Single Layer เป็นเส้นลวดที่มีขนาดเท่ากัน มัดล้อมรอบแกนเส้นลวดที่อยู่ตรงกลาง
- Filler Wire ลวดสลิงที่มีเส้นลวดขนาดเล็ก แทรกอยู่ในพื้นที่ว่างระหว่างเส้นลวดที่มีขนาดใหญ่กว่า
- Seale : มีเส้นลวดขนาดใหญ่ล้อมด้านนอก เส้นลวดขนาดเล็กแทรกอยู่ด้านใน
- Warrington โครงสร้างลวดสลิงที่มีเส้นลวดทั้งใหญ่และเล็กวางสลับกัน
- Combined เป็นการรวมลักษณะการตีเกลียวหลายๆ รูปแบบเข้าด้วยกัน
ลักษณะของ”ลวดสลิง” (Wire Rope Type)
โดยทั่วไปมี 4 รูปแบบด้วยกัน คือ
- Convention Steel Wire Rope
เป็นเส้นลวดเหล็กหลายเส้นที่ตีเกลียวหรือพันรอบแกนชั้นเดียวหรือหลายชั้น - Compacted Wire Rope
ผลิตโดยใช้การรีดกลมเกลียวของลวดสลิง ช่วยลดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกของเกลียวทั้งหมด กระบวนการนี้ทำให้พื้นผิวของเส้นลวดด้านนอกเกลียวเรียบและยังเพิ่มความหนาแน่นของเส้นลวดด้วย ส่งผลให้พื้นผิวด้านนอกเรียบขึ้นและเพิ่มความแข็งแรงเมื่อเทียบกับลวดสลิงขนาดและประเภทเดียวกันที่เทียบเท่า ในขณะเดียวกันก็ช่วยยืดอายุการใช้งานของพื้นผิวเนื่องจากความต้านทานการสึกหรอที่เพิ่มขึ้น - Rotation Resistance
ลวดสลิงบางประเภท โดยเฉพาะลวดสลิงแบบเกลียวพิเศษ มีแนวโน้มที่จะหมุนได้ง่ายกว่าเมื่อมีการใช้งาน ลวดสลิงต้านทานการหมุน ได้รับการออกแบบให้ต้านทานการบิด การหมุน ต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษในการใช้งาน ติดตั้ง และจัดเก็บ เพราะจะทำให้เชือกบิดตัวซึ่งและไม่สามารถต้านทานการหมุนได้ - Plastic Impregnated Wire Rope
ลวดสลิงที่เติมพลาสติก ในช่องว่างภายในระหว่างเกลียวและแกนของลวดสลิง ไส้พลาสติกช่วยลดความล้า (Fatigue) จากการดัดงอ และลดการสึกหรอของลวดสลิงทั้งภายในและภายนอก
แกนหรือไส้ของลวดสลิง (Core)
ᅠแกนกลางหรือไส้ของลวดสลิง ทำหน้าที่รักษารูปทรงของลวดสลิงให้กลม รองรับเกลียวชั้นนอก ทั้งยังช่วยรักษาให้ลวดตีเกลียวอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมระหว่างการใช้งาน ซึ่งแกนลวดสลิงแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่
- ลวดสลิงแกนไฟเบอร์/เชือก (Fiber Core : FC)
ตัวแกนทำจากเชือกที่ผลิตจากเส้นใยธรรมชาติหรือเส้นใยสังเคราะห์ส่วนใหญ่ใช้เป็น Polypropylene (PP) หรือ Polyvinylchloride (PVC) ซึ่งมีข้อได้เปรียบ คือ ลวดสลิงมีความความอ่อนตัว (Flexibility) ทนทานต่อแรงล้าได้มากกว่า และ มีความยืดหยุ่นที่สูง (stretch) ทำให้สามารถซับแรงได้ดี นอกจากนี้ไส้เชือกสามารถดูดซึมน้ำมันหล่อลื่นเพื่อป้องกันความชื้นและการผุกร่อน แต่ทนแรงกระแทกได้น้อยกว่าลวดสลิงแกนลวดเหล็กกล้า (IWRC) - ลวดสลิงแกนลวดเหล็กกล้า (Independent Wire Rope Core : IWRC)
ลวดสลิงที่มีแกนเป็นลวดเหล็กกล้า จะเพิ่มความแข็งแรงมากกว่าไส้เชือกประมาณ 10-15% ช่วยต้านทานต่อแรงกดทับ และทนต่อความร้อนได้ดีกว่าไส้เชือก ซึ่งเป็นลวดสลิงที่ใช้งานอย่างแพร่หลาย สามารถใช้งานได้หลากหลายกว่า จากข้อจำกัดในการใช้งานลวดสลิงไส้เชือก เช่น อุณหภูมิ ความแข็งแรง แรงกดทับ และ รวมถึงสภาพแวดล้อมในการใช้งานที่ยากในการดูแลเป็นต้น - ลวดสลิงแกนลวดตีเกลียว (Wire Strand Core : WSC)
เป็นลวดสลิงไส้เหล็กเหมือนกับ IWRC แต่จะนำเกลียวมาทำแกนลวดสลิง ข้อสังเกตลักษณะของแกนลวดสลิงจะเหมือนกับเกลียวสลิง ซึ่งออกแบบเพื่อใช้ผลิตแกนลวดสลิงเกลียวหลายชั้น เช่น ลวดสลิงประเภทต้านทานการหมุน Rotation Resistant หรือ Non Spin
เกรดของลวดสลิง (Grade)
ᅠเกรดแรงดึงของลวดสลิง เป็นค่าที่บ่งบอกแรงดึงและน้ำหนักที่ลวดสลิงสามารถยกหรือเคลื่อนย้ายวัตถุได้อย่างปลอดภัย โดยมีเกรดที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก 3 แบบด้วยกัน ได้แก่
- IPS (Impoved Plowed Steel) /1770 Grade : มีแรงดึงอยู่ที่ 1770 N/mm² หรือ 180 kg/mm²
- EIPS (Extra Improved Plowed Steel)/1960 Grade : มีแรงดึงอยู่ที่ 1960 N/mm² หรือ 200 kg/mm²
- EEIPS (Extra Extra Improved Plowed Steel)/2160 Grade : มีแรงดึงอยู่ที่ 2160 N/mm² หรือ 220 kg/mm²ᅠ
Refernce: Bridon-Rope Grade Explained
ทิศทางของลวดสลิง (Direction)
การเลือกซื้อลวดสลิงให้เหมาะกับการใช้งานนั้น เราจำเป็นต้องดูทิศทางของลวดสลิง ซึ่งโดยปกติแล้วจะมีอยู่ 2 ทิศทางด้วยกันคือ
- ลวดสลิงเกลียวซ้าย (Left-hand)
- ลวดสลิงเกลียวขวา (Right-hand)
ซึ่งการเลือกใช้งานนั้น จะขึ้นอยู่กับการออกแบบเครนที่ใช้งาน ว่าเครนดังกล่าวระบุให้ใช้เกลียวซ้ายหรือเกลียวขวา ซึ่งหากใช้งานผิดประเภท ก็อาจทำให้ขดลวดคลายตัวและหลุดออกจากแกนของสลิงได้
Reference: Bridon-Rope Lay and Direction
การเรียงตัวของลวดในเกลียว (Lay Type)
ซึ่งจะมีอยู่ 3 รูปแบบ คือ
- เกลียวธรรมดา (Regular Lay) ทิศทางของลวดในแต่ละเกลียวและทิศของมัดเกลียวอยู่ตรงข้ามกัน เป็นรูปแบบที่นิยมใช้งานมากที่สุด เนื่องจากมีความทนทานต่อแรงกดทับและการหมุน
- เกลียวพิเศษ (Lang Lay) ทิศทางของลวดในแต่ละเกลียวและมัดเกลียว บิดไปในทิศทางเดียวกัน หรือเป็นลักษณะของเส้นลวดที่ตีขนานไปตามเกลียวสลิง นิยมใช้ในงานสลิงที่มีการดัดหรือโค้งงอได้ เนื่องจากมีความยืดหยุ่นสูง
- เกลียวสลับ (Alternate Lay) เป็นลวดสลิงที่ผสมผสานกันระหว่างเกลียวธรรมดาและเกลียวพิเศษ ทำให้มีทั้งความทนทานและยืดหยุ่นสูง
การเข้าหัวสลิง (Termination)
เป็นการเชื่อมต่อลวดสลิงเข้าด้วยกัน หรือเชื่อมเข้ากับอุปกรณ์จับยึดรูปแบบต่างๆ ซึ่งมีประสิทธิภาพในการยกแตกต่างกัน และ ขึ้นอยู่กับความสามารถในการรับแรงยกตัวลวดสลิงเอง
สำหรับการเข้าหัวลวดสลิง สามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
- การอัดปลอก เพื่อเชื่อมต่อลวดสลิง 2 ด้านเข้าด้วยกัน โดยใช้เครื่องไฮดรอลิกในการอัดเพื่อเชื่อมต่อแบบถาวร เช่น ปลอกอลูมิเนี่ยม หรือปลอกเหล็ก เหมาะกับลวดสลิงยก
- การหล่อหัว เป็นการประกอบที่ใช้เรซิ่นเชื่อมส่วนหัวที่เป็นซ็อกเกตเข้ากับส่วนปลายของลวดสลิง เหมาะสำหรับสลิงที่ใช้กับเครน
- การประกอบกริ๊บจับลวดสลิง เพื่อยึดส่วนปลายของห่วงเข้ากับลวดสลิง นิยมใช้ในงานขึง
การเข้าหัวลวดสลิง (Termination) มี 7 รูปแบบ
- Swage Sockets
- Spelter Sockets
- Wedge Sockets
- Swage Buttons
- Flemish Eyes
- Turnback Eyes
- Wire Rope Clips
Reference: Crosby-Termination Manual
การผูกปม/ยก ด้วยลวดสลิง (Hitch)
นอกจากค่าการรับน้ำหนักที่ปลอดภัยของลวดสลิงหรือน้ำหนักของวัตถุที่จะทำการยกแล้ว อีกปัจจัยหนึ่งที่ผู้ใช้งานลวดสลิงไม่ควรมองข้าม นั่นก็คือ วิธีผูกมัดลวดสลิงเข้ากับวัตถุที่ยกนั่นเอง เพราะการเลือกใช้วิธีผูกมัดที่ถูกต้องเหมาะสม จะช่วยให้งานยกหิ้วมีความราบรื่นและเป็นไปอย่างปลอดภัย
ทั้งนี้ วิธีผูกมัดลวดสลิงกับวัตถุที่ยก โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
- แบบแนวดิ่ง (Vertical Hitch) เป็นการคล้องสลิงเข้ากับวัตถุโดยตรง โดยไม่ต้องพันรอบเหมือนการผูกรูปแบบอื่นๆ
- แบบหักคอไก่ (Choker Hitch) เป็นการผูกสลิงกับวัตถุโดยนำปลายลวดสลิงด้านหนึ่งสอดเข้าหูสลิงอีกด้านหนึ่งเพื่อสร้างห่วงคล้องรอบวัตถุ
- แบบตะกร้าหรือแบบอุ้ม (Basket Hitch) การผูกสลิงโอบรอบวัตถุที่จะยก และนำส่วนปลายสลิง ทั้ง 2 ด้าน มาเกี่ยวไว้กับตะขอ